วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาทำความรู้จักเทคโนโลยี 4G กัน


มาทำความรู้จักเทคโนโลยี 4G กัน






ในขณะที่ในบ้านเรากำลังตื่่นเต้นกับเทคโนโลยี 3G อยู่นั้น ตอนนี้ Mobile Internet Technology  ได้กำลังพัฒนาเข้าสู่ยุค 4G กันแล้ว ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักเทคโนโลยี 4G คร่าวๆกันดีกว่าว่ามันคืออะไรและมีสิ่งที่น่าสนใจอะไรบ้าง

What is 4G ?

ถ้าอธิบายง่ายๆ 4G ก็คือ generation ที่ 4 ของ Mobile Internet Technology ตามทฤษฏีแล้ว 4G จะมี 2 Features  หลักๆที่แตกต่างจาก 3G ซึ่งก็คือ
1) ความสามารถในการ Roaming ระหว่าง Cellular, Wireless LAN และ Satellites อย่างอัตโนมัต
2) Bit rate ที่มีความเร็วพอๆกับ  High Speed Internet  (ประมาณ 50 Mbps) เพื่อรองรับระบบ Multimedia อย่างเต็มรูปแบบ

แล้ว 4G ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อลองรับความสามารถทั้ง 2 นี้ ?

เทคโนโลยีที่ใช้รองรับระบบ 4G มีอยู่ 2 เทคโนโลยีด้วยกัน ซึ่งก็คือ
1) WiMAX: ปัจจุบันเทคโนโลยี 4G ที่กำลังใช้กันอยู่ก็คือ WiMAX ซึ่งWiMAX ได้ใช้คลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่สูง (10-66GHz) เป็นตัวส่งข้อมูลและจากคลื่นความถึ่นี้ข้อมูลที่ส่งจะเป็นไปได้ในจำนวนมากและรวดเร็วเพราะสามารถส่งได้ด้วยHigh Bit Rate ซึ่งเป็นข้อเด่นของเทคโนโลยี WiMAX อย่างไรก็ตาม WiMAX ก็ยังคงมีจุดอ่อนในเรื่องความสามารถในการเคลื่อนย้าย (Mobility) ของตัวเครื่องรับสันญาณหรือก็คือตัวโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์นั่นเอง ดังนั้นระบบ 4G แบบ WiMAX จะมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ท่ี่ครอบคลุมบริการ ยกตัวอย่างเช่นสันญาณ 4G แบบ WiMAX จะครอบคลุมได้แค่บางพื้นที่ เช่น ภายในกรุงเทพ หรือ แค่ เกาะภูเก็ตเป็นต้น ระบบWiMAX ไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศไทย
2) LTE: ชื่อเต็มของ LTE ก็คือ Long-Term Evolution ซึ่งเทคโนโลยี 4G แบบ LTE นี้ได้รับการสนับสนุนมาจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ Mobile Internet Technology เนื่องจาก LTE นี้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาจากระบบ 3G ในปัจจุบัน ดังนั้น LTE จะถูกออกแบบมาเพื่อ Mobility and High Speed Internet อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน LTE ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและยังไม่พร้อมที่จะนำมาใช้ได้จริง แต่ผมคาดว่า LTE จะถูกนำมาใช้ภายในปีนี้อย่างแน่นอน


ยุคโลกาภิวัฒน์มีเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายหลายด้านเกิดขึ้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร  ซึ่งมีการคิดค้นวิจัยและพัฒนากันอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลี่อนที่ยุคที่ 4 หรือ4G mobile ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทำให้มนุษย์ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีจึงต้องก้าวตามเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ให้ทันกับยุคสมัย                 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย4Gมาใช้นอกจากระบบการสื่อสารดังกล่าวจะรองรับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆแล้วผู้ใช้ยังสามารถที่จะนโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียมาปรับใช้กับเครือข่ายระบบ 4G ได้ มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที โดยการนำโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียดังกล่าวมาใช้อาทิเช่น การฟังเพลง MP3 ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร  ระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ซึ่งมีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอาจรวมถึงการช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบพิกัดสถานที่ (Global Positioning System) หรือ GPS ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าในปัจจุบันและมีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ดังกล่าวสามารถค้นหาตำแหน่งต่างๆได้ทั่วโลกราวกับว่าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริงๆคุณสมบัติต่างๆของระบบ 4G ยังอยู่ในขันของการพัฒนาและสร้างมาตรฐาน ทำให้ตลาดเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบันยังไม่มีทิศทางที่แน่นอนเท่านั้น   อย่างไรก็ตามยังยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบ4G   เพื่อรองรับการบริการและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ 3โดยที่ระบบ 4นั้นสามารถช่วยให้มีการใช้โปรแกรมสร้างภาพสามมิติที่สมบูรณ์แบบและช่วยให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นโดยอาจจะไปปรากฎที่นั่นที่นี่ได้ตามต้องการ

1.1 บทนำ
เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลี่อนที่ยุคที่ 4 (Fourth general of mobile telephone) หรือ4G mobile เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้มากสุดถึง 1Gbps ตามข้อมูลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) และเมื่อเทียบประสิทธิภาพกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว เทคโนโลยี4Gใช้เวลาในการรับ-ส่งข้อมูลและการบริการเสริมอื่นๆได้เร็วกว่า ไม่มีปัญหาเรื่องรอยต่อและจุดอับของสัญญาณมาเป็นอุปสรรคด้วยเทคโนโลยี4Gนี้จะทำให้ผู้รับบริการสามารถรับชมรายการทีวีคุณภาพความละเอียดสูง ผ่านโทรศัพท์มือถือได้หลากหลายช่องได้อีกด้วย ปัจจุบันระบบ 2.5G และ 3G เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญโดยมากยังไม่อยากจะสนใจเที่จะพัฒนา ระบบ 4G มากนัก สาเหตุอีกประการหนึ่งเพราะ คุณสมบัติและมาตรฐานของระบบ 4G แน่ชัดว่าควรคุณสมบัติอย่างไร ดังนั้นการพูดถึงระบบ 4G ในตอนนี้ ก็เหมือนการพูดถึงระบบ 3G เมื่อปี 1992 Ira Brodsky ประธานของบริษัทวิจัย Datacom Research กล่าวว่า "ผมคิดว่ายังไม่มีใครที่ได้พูดแล้วว่า มีอะไรบ้างที่เราอยากจะได้จากระบบ 4G" นอกจากนี้ Ran Yan รองประธานฝ่ายวิจัย ระบบไร้สายของบริษัทLucent Technologies ที่ดูแล Bell Laboratories ให้ความเห็นต่อ  " สิ่งใหม่ ๆ ที่จะได้นั้น อาจจะรวมถึง การช่วยเสริมประสิทธิภาพ ของระบบพิกัดสถานที่  GPS (global positioning system) ให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้ หากมีการผสมผสาน เทคโนโลยีดังกล่าว เข้ากับระบบ GPS ซึ่งสามารถค้นหาตำแหน่งที่ตั้ง ของบุคคลหรือวัตถุแล้วเทคโนโลยีพันธุ์ผสมระหว่าง 4G และ GPS ก็อาจจะช่วยให้ เราสามารถฉายภาพบุคคลขึ้นในที่ต่างๆได้ทั่วโลก ราวกับว่าบุคคลนั้น ไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริง ๆ (แม้ความจริงจะไม่ได้อยู่ก็ตาม)" แนวคิดของเรื่องนี้ก็คือ สามารถใช้ระบบไร้สายต่อเชื่อมคุณไปยังสถานที่อื่นๆ ที่คุณต้องการได้ทุกหนแห่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าไม่ได้อยู่ที่บ้าน แต่มีบางคนมาเคาะประตูบ้านเจ้าของบ้านก็อาจจะตัดสินใจใช้เทคโนโลยีนี้ฉายภาพเพื่อทักทายกับคนที่มาเคาะประตูนั้นก็ได้ ทั้งนี้ขณะที่เทคโนโลยี มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลก็จะลดน้อยลงซึ่งจะเป็นผลดี ถ้าการถ่ายโอนภาพสามมิติดังกล่าวต้องใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลแต่ละครั้งทำให้การถ่ายโอนได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด หรือขาดหายไปเฉยๆ สามารถรองรับสื่อต่างๆได้ดี บทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 เพี่อนำไปสู่การพัฒนามาตรฐาน ประโยชน์ที่จะได้รับ แนวโน้มและการประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 วัตถุประสงค์
                1.2.1  เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4
                1.2.2  เพื่อการยอมรับการพัฒนาของระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 และสามารถประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 เทคโนโลยีระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4
ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่4 หรือเทคโนโลยี4Gปัจจุบันเป็นที่สนใจของ ผู้ให้บริการสื่อสารไร้สาย ผู้ผลิตเครื่องอุปกรณ์(OEMs) นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ เทคโนโลยีไร้สายยุคที่4 ที่เน้นการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (สูงกว่าระบบไร้สายที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ซึ่งรวมทั้งระบบ 3Gด้วยและให้บริการมัลติมีเดียที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี 4G ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะยอมรับเป็นสากลได้ ดังนั้นการสาธิตใช้งานเทคโนโลยี 4G ไปยังพื้นที่ต่างๆยังไม่สามารถสร้างความสำเร็จตามที่คาดหวังได้  แต่บริษัทซัมซุงซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องอุปกรณ์มัลติมีเดียของเกาหลี ก็หวังจะให้เกิดการขับเคลื่อน และพัฒนาให้เกิดมาตรฐานเทคโนโลยี4G ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป อีกทั้งยังเป็นการตอกย้ำปนิธานของซัมซุงในการเริ่มต้นเข้าสู่ยุค 4G ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารในยุค4G นั้นความเร็วการรับ-ส่งข้อมูลเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ญี่ปุ่นนั้นสร้างเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ถ้าจะถามว่าทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลากหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง จึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดระบบเครือข่ายการสื่อสารในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 2.5-3G ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดรวมถึงข้อความต่างๆอาทิ ข้อความภาพและตัวอักษรได้ในเวลาอันรวดเร็ว ฉะนั้นประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารไร้สายระบบ2.5-3G นั้นก็คือ ผู้ใช้นอกจากจะติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงหรือการสนทนาแล้ว ยังสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันด้วยภาพหรือข้อความต่างๆได้อีกด้วย จนกระทั่งได้มีผู้คิดค้นระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ขึ้นมา เพื่อรองรับการสื่อสารไร้สายในอนาคต ระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายแห่งอนาคตดังกล่าว ก็มีคุณสมบัติต่างๆคล้ายคลึงกับระบบเครือข่ายการสื่อสาร ไร้สาย 2.5-3G ในยุคปัจจุบัน แต่ก็มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งแตกต่างกันนั้นก็คือ ระบบการสร้างภาพ 3 มิติ แต่ระบบการสร้างภาพ 3 มิตินั้นไม่ใช่ระบบ 3มิติที่ใช้กันในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการจำลองภาพคนหรือวัตถุที่สมจริงราวกับเป็นคนหรือวัตถุนั้นจริงๆเพียงแต่จับต้องไม่ได้เท่านั้นเทคโนโลยีระบบไร้สายในอนาคต ที่สามารถรองรับระบบ สร้างภาพสามมิติสมบูรณ์แบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระบบไร้สาย สามารถนำเอา ระบบภาพสามมิตินี้ ไปใช้ได้ทุกหนทุกแห่ง ยังจะต้องใช้เวลาอีกนานหลายปีกว่าที่จะสำเร็จเป็นจริงได้
นักวิทยาศาสตร์ และวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ต่างค้นคิดและรอคอยวันนั้น อาจต้องรอนานถึง 5-10 ปี ซึ่งจะเป็นตอนที่ระบบ G4( fourth-generation ) เริ่มถูกนำมาใช้งานแล้วก็ตาม โปรแกรมที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย เป็นกลุ่มโปรแกรม ที่มีแนวโน้มสูงที่สุด ที่จะนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G นี้ โดยเฉพาะในตอนที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้เพิ่มสูงกว่า 100 เมกะบิทต่อวินาที(Megabit/second)แล้วจะช่วยในการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอได้เร็วขึ้น
Brodsky กล่าวว่า " ในส่วนของการใช้งานในองค์กร หรือบริษัทต่าง ๆนั้น ระบบ 4G สามารถช่วยให้พนักงาน ที่อยู่ในระหว่างเดินทางไกล สามารถต่อเชื่อมเข้ามาใช้งาน โปรแกรมธุรกิจต่าง ๆ ขององค์กรเหล่านั้น ได้ราวกับว่า เขานั่งทำงานอยู่หน้า PC ตามปกติในสำนักงาน ซึ่งนั่นจะช่วยให้ ไม่จำเป็นจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ระบบไร้สายเหล่านั้นให้ยุ่งยาก ระบบ 4G นี้ ยังถูกคาดหมายว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการออกแบบโปรแกรมใหม่ๆออกมามากขึ้น เพื่อใช้งานร่วมกับระบบเครือข่าย WLAN (wireless local area network) หรือ ระบบเครือข่าย LAN แบบไร้สาย และยังจะส่งเสริม ให้มีการขยายตัวในการใช้ระบบนี้มากขึ้นด้วย

  
mobile telephone
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นองค์กรหนึ่ง ที่พยายามผลักดันอย่างมากในเรื่อง
มาตรฐานเทคโนโลยีโทรคมนาคม ได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี 4G เช่นเดียวกัน และตั้งเป้าหมาย
การพัฒนาไว้ดังนี้
·        เทคโนโลยีของระบบ 4G ควรจะเข้ากันได้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันซึ่งมีระบบการเข้าถึงที่ค่อนข้างหลากหลาย และใช้ได้ดีกับเครือข่ายสื่อสารส่วนบุคคล (PAN)
·        อัตราการรับ-ส่งข้อมูลควรทำได้ 100 Mbps สำหรับการใช้งานลักษณะเคลื่อนที่ และในปี ค.. 2010 ควรทำได้อย่างน้อย 1 Gbps สำหรับการใช้งานทั่วไป
·        เป็นมาตรฐานสากล แบบเปิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสเปคตรัมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในขณะนี้
มุมมองของ WWRF (Wireless World Research Forum) คาดหมายว่า เครือข่าย 4G จะเป็นเครือข่ายที่สามารถทำงานบนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ร่วมกับเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ เช่น Wi-Fi และWiMAXโดยมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 100 Mbps (สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไปจนถึง 1Gbps (สำหรับเครือข่าย Wi-Fi ท้องถิ่นที่สำคัญคือ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งทางด้านหน่วยงาน ที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐาน และนักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้ความเห็นว่า WiMAX น่าจะมีโอกาสแปลงกลายเป็นเทคโนโลยี 4Gที่มีความสมบูรณ์มากกว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 4G ที่พยายามพัฒนากันใหม่ขณะนี้กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA development group) หรือ CDG ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังผลักดันความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 1xEV-DO ให้เป็นไปตามที่คาดหวังว่าจะได้จากเทคโนโลยี4G โดยใน Revision C ของกลุ่ม ได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีสายอากาศของCDMA, TDM, OFDM และ MIMO (Multiple Input Multiple Output) หรือแม้แต่ SSDMA (Space Division Multiple Access) เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดให้สูงขึ้นถึง 280 Mbps โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า Ultra mobile Broadband ทางด้านบริษัท โดโคโมะ ของญี่ปุ่น และบริษัท ซัมซุง ของเกาหลี อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบต้นแบบระบบสื่อสาร 4Gที่เรียกว่า Variable Spreading Factor Orthogonal Frequency and Code Division Multiplexing หรือ VSF-OFCDM ที่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ถึง100 Mb/s ขณะเคลื่อนที่ และ 1 Gb/s ในขณะอยู่กับที่ (ITU เรียกสภาพนี้ว่า “nomadic”) โดยทั้งสองบริษัทวางแผนที่จะนำเครือข่ายดังกล่าวมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกภายใน ค.. 2010 อีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนา 4G ที่มีการเปิดเผยกันคือ โครงการที่เรียกว่า 3GPP LTE  (Long Term Evolution) project ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากการริเริ่มขึ้นในโครงการ Third Generation Partnership (3GPP) Project เพื่อเพิ่มสมรรถนะของมาตรฐาน UMTS 3G อย่างไรก็ตาม โครงการ LTE นี้ไม่ใช่มาตรฐาน แต่กำลังจะกำหนดให้เป็นคุณสมบัติ “คล้ายกับระบบ 4G” สำหรับผู้ให้บริการUMTS ทั้งนี้ในบรรดาเทคโนโลยีดังกล่าว องค์กรที่ทำการวิจัยหลายๆ แห่งกำลังคิดว่า 3G LTE จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุด จนบางครั้งมีการเรียกเทคโนโลยี 3G LTE นี้ว่า 3.99G หรือไปไกลกว่านั้นเรียกว่า “Super 3G” เลยก็มี มาตรฐานของระบบการใช้งานแบบไร้สายที่พัฒนาสำหรับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์  ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลที่สามารถส่งได้โดยโทรศัพท์มือถือในขณะนี้ มาตรฐานมีแนวโน้มที่จะสามารถนำมาใช้งานรวมกับระบบโทรศัพท์มือถือ และจัดเป็นมาตรฐานการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 4G มาตรฐานในระบบนี้ได้แก่ iBurst, High Performance Radio Metropolitan Area Network (HIPERMAN),UMB, UMTS Revision 8 (LTE),WiMAX และWiBro  มาตรฐานพวกนี้เป็นคู่แข่งของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบ 3G  สำหรับ High Performance Radio Metropolitan Area Network เป็นมาตรฐานการใช้งานระบบไร้สายและสร้างขึ้น โดยสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรป หรือETSI และกลุ่มผู้ใช้คลื่นวิทยุสำหรับการใช้เครือข่าย Broadband เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายที่อยู่ในช่วงความถี่ 2-11 GHz ในยุโรปและประเทศใกล้เคียงเป็นคู่แข่งของมาตรฐานWiMAXหรือ IEEE 802.16 และเทคโนโลยี WiBro ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบไร้สายสำหรับBroadbandอินเทอร์เน็ตในประเทศเกาหลี ทั้งมาตรฐาน HIPERMAN และ WiBro และ WiMAX ได้มีการปรับปรุงเพื่อให้เป็นมาตรฐานสำหรับการใช้งานแบบไร้สายและสามารถใช้งานแบบ broadband โดยสามารถใช้งานร่วมกันได้ สำหรับการใช้งานแบบ WiMAX นั้นในบ้านเรายังอยู่ในช่วงที่มีการพิจารณาจัดสรรความถี่ โดยความถี่ที่มีการใช้งานได้แก่ 2.5 GHz 3.5 GHz และ 5 GHz
Ultra Mobile Broadband (UMB) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับโครงการ 3GPP2 เพื่อปรับปรุงมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่CDMA2000 สำหรับการใช้งานรุ่นใหม่ระบบจะใช้เทคโนโลยีแบบ OFDMA รวมกับเทคนิคของสายอากาศขั้นสูงเพื่อให้ได้อัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 280 Mb/s เป้าหมายสำหรับ UMB เพื่อรวมการเพิ่มประสิทธิภาพของความจุของระบบและเพิ่มปริมาณ data rate และลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงบริการที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถสร้างวิธีการใช้งานในแบบใหม่ๆโดยเทคโนโลยีจะให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการ IP พร้อมๆ กันหรือที่เรียกว่า concurrent IP-base services ได้กับการใช้งานแบบเคลื่อนที่ มาตรฐานแบบ UMB นั้นแล้วเสร็จเมี่อ กลางปี 2007 นี้ และคาดว่าจะนำออกสู่ตลาดในราวกลางปี 2009 และเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลาย UMB จะรองรับการใช้ งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วยโดยยังสามารถใช้งานได้กับเทคโนโลยีอย่าง CDMA2000 1x และระบบ 1xEV-DO สำหรับวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบ UMB นั้น มีเทคโนโลยีย่อยที่ประกอบด้วย Ultra หมายถึง เทคโนโลยีที่รวดเร็วและรองรับได้มากกว่าขนาดปกติของข้อมูลแบบ broadband และให้ปริมาณ throughput rates หรืออัตราการส่งผ่านข้อมูลที่สามารถรองรับการใช้งานแบบเสียง Mobile จะหมายถึง platform ที่สามารถรองรับการให้บริการในแบบไร้สายได้หลาย ๆ บริการและสามารถใช้งานในแบบเคลื่อนที่ได้โดยที่แตกต่างไปจาก Wi-Fi และWiMAX และ UWB ส่วนคำว่า Broadband จะเป็นความสามารถในการส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากที่ตั้งแต่ 100เมกกะบิทต่อวินาทีหรือเป็นรุ่นใหม่ที่สามารถส่งได้มากกว่าระบบ3G
network of communication
2.2 แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4
การพัฒนาของเทคโนโลยี 4G แล้ว จะเห็นว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ การพัฒนาที่ค่อนข้างยาวนาน หลายๆ กลุ่มและหลายๆ องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลลัพธ์สุดท้ายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วยองค์กรพัฒนามาตรฐาน (Standards Development Organizations : SDO) , สมาคมอุตสาหกรรม และบรรดาบริษัทต่างๆ โดย SDO ที่สำคัญๆ หลายองค์กรเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ไม่แสวงหากำไร และบางองค์กรมีฐานะเป็นองค์กรของรัฐ เช่น ETSI ในยุโรป CCSA ในจีน และ TTA ในเกาหลี สมาคม 3GPPและ 3GPP2 ก็เป็น SDO ทางอุตสาหกรรมที่พัฒนาและดูแลมาตรฐานของเทคโนโลยี 2Gและ 3G อยู่ด้วยในขณะนี้ ในปีนี้ (..2007) ITU จะพยายามโน้มน้าวในการประชุมต่างๆ ทั่วโลกให้ช่วยกันเร่งพัฒนามาตรฐาน 4Gให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะได้เห็นมาตรฐานของ ITU ได้ก่อนหรือหลัง ค.. 2010 ตามที่ ITUเคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ความน่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลจากจุดอ่อนของระบบ3Gนั่นเอง  โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวน
เงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิการประกอบการระบบโทรคมนาคมเครือข่าย3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจ ให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G ขณะที่ 3G กำลังสะดุด เทคโนโลยีไร้สายอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าWi-Fi ได้รับการตอบรับ อย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนตั้งแต่การบูมครั้งใหญ่ของอินเตอร์เน็ต Wi-Fi  ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระยะ 50 เมตรหรือสถานีฐานขนาดเล็ก แต่เนื่องจากระยะการติดต่อสื่อสารที่สั้นของเทคโนโลยี Wi-Fi จึงทำให้การครอบคลุมการใช้งานไม่เป็นที่พอใจของผู้ใช้ ปัญหาด้านการเงิน ยังนับเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ระบบ 4G กลายเป็นเรื่องรอง ลงไปในตอนนี้ โดยนักวิจัยของบริษัท Gartner คือ Phil Redman ได้ให้ความเห็นว่า “ ตอนนี้ ตลาด ต้องการระบบ ที่มีขอบข่ายในการครอบคลุมสูงขึ้น แต่ต้องมีราคาถูกลง และต้องมีความเร็วสูงขึ้นด้วยแต่ถึงกระนั้น ระบบ 4G ซึ่งมีความเร็วระดับสุดยอดนั้น ก็ยังไม่ได้เป็นที่ สนใจสูงสุด ขององค์กร หรือ บริษัท ต่าง ๆ เหล่านั้น ในช่วงนี้ เพราะปัญหาทางการเงิน ที่กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการเริ่มพัฒนา ระบบ 4 G นี้อย่างจริงจัง ด้วยยอดขายที่ตกต่ำลง ของบริษัทด้านเทคโนโลยีต่าง ๆทำให้พวกเขามีเงินทุนน้อยเกินกว่า ที่จะทุ่มเทเพื่อการพัฒนาระบบใหม่ ที่ยาวนาน 8 ถึง 12 ปี ต่อเนื่องกันในอนาคต 
Redman  ให้ความเห็นต่อด้วยว่า “ ตอนนี้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับระบบ 4G ยังไม่ได้มีการกำ
หนดแน่ชัด ซึ่งก็หมายถึงว่า ความสามารถต่าง ๆของเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางการออกแบบโปรแกรมต่างๆ ออกมารองรับนั้น ยังอยู่ในช่วงของการวิเคราะห์ประเมินอยู่ ความต้องการของตลาด จะเป็นตัวผลักดัน ให้มีการออกแบบโปรแกรมต่างๆ ออกมาซึ่ง ผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันไป  
Yan ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ และระบบต่าง ๆ ก็ยังไม่ได้มีการสรุปผลออกมา และมัน อาจจะเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องสร้างระบบต่อเชื่อม การใช้งานของผู้ใช้ หรือ user interface ออกมาใหม่ เพื่อเพิ่มความแน่ใจว่าอุปกรณ์ หรือระบบต่าง ๆจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ภายใต้เทคโนโลยี 4G นี้ผลลัพธ์ที่ได้นั้น ก็คือ การคาดหมายว่า อาจจะต้องรอถึงปี 2010 เป็นอย่างน้อย ก่อนที่ระบบ 4G จะปรากฏขึ้นในตลาดเทคโนโลยี  พร้อมกันนั้นให้ความเห็นต่อด้วยว่า “บรรดาบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้ จะต้องหันมาร่วมมือกัน เพื่อทำการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อจะได้กำจัดอุปสรรคต่างๆ ให้หมดสิ้นไป บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยี และอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบของระบบ 4G ให้แน่ชัดเสียก่อน" ดังนั้นแนวทางการพัฒนาไปสู่ 4G โดยยังคงมุ่งเน้นที่บริการที่มีการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง และสามารถประยุกต์ด้านมัลติมีเดียได้กว้างขวางขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้สเปคตรัมความถี่วิทยุเพิ่มขึ้นด้วยในเรื่องนี้คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FCC) ได้อนุมัติการใช้คลื่นความถี่700 MHZ สำหรับการใช้งาน 4G ในสหรัฐแล้วโดยผ่านทางการประมูลอย่างไรก็ดีการใช้แถบความถี่ดังกล่าวนี้ สำหรับบริการไร้สายเคลื่อนที่คงจะต้องรออีกหลายปี เนื่องจากยังมีความยุ่งยากในการย้ายการใช้งานของกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ที่ได้ให้ใบอนุญาตไปแล้วให้เรียบร้อยก่อน นอกจากนี้ ยังไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ที่จะทำให้สามารถ ใช้สเปคตรัม 4G เช่นเดียวกันได้ทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเป็นไปได้ยากในกรณีของเครือข่าย 2G และ 3G อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีแรงจูงใจดังนี้คือ ความสามารถในการทำงานของ3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูง ๆ อย่างเช่น มัลติมีเดียวิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยง และทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่ต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก ทำงานบนแนวคิดของการให้บริการบริเวณพื้นที่หนึ่ง ดังนั้นจึงต้องการเครือข่ายแบบผสมผสานที่สามารถใช้งานเครือข่ายได้ทั้งแบบ Wireless LAN (Hot spot) นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการแปลงคลื่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของระบบ 3G ดังนั้นระบบ 4G จึงเป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet  ทำให้สามารถส่ง Voice และData ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมากและมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Multiple Overlay Architecure
ระบบ 4G ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้ หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบWLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมา เบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ อย่างไรก็ตาม ในบ้านเรายังคงอิงกับมารฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูงสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกลทำให้หลายคนมองว่าหาก Wimax  เข้ามาเมื่อไหร่ผู้ให้บริการโทรศัพท์อาจจะอยู่ไม่ได้  ดังนั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์จึงไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเปิดให้บริการเสรีมหรือไม่ เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย โดยขณะนี้ Bluetooth มีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง UWB (Ultra Wideband) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายตัวล่าสุด ตามาตรฐาน IEEE802.15.3a ที่ใช้คลื่นความถี่ในการสื่อสารขนาด 7.5 กิกะเฮิรตซ์ มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่ระดับ 110-480 Mbps ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเครือข่ายไร้สายที่ให้ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้คุณสมบัติต่าง ๆ ของระบบ 4G นั้น ดูเหมือนว่า ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ในตลาดเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้มาก จนดูราวกับว่า เป็นแค่เพียงนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ถึงกระนั้น ก็เชื่อกันว่า จะต้องมีสักวันหนึ่งที่ระบบ 4G นี้ สามารถช่วยให้ มีการใช้โปรแกรมสร้าง3มิติ สมบูรณ์แบบ ที่จะช่วยให้คนเราสามารถ ไปปรากฎที่นั่นที่นี่ได้ อย่างน่ามหัศจรรย์ ตามที่ใจต้องการ เช่นบางคนอาจจะอยู่ ในบางเมือง จะสามารถพาคุณไปยังสถานที่ต่าง ๆได้ทุกแห่ง ราวกับว่า คุณได้ไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริง ๆ
Brodsky กล่าวว่า “ คุณสมบัติต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น อาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ โดยอาศัยการพัฒนาคุณภาพของระบบ 3G ให้สูงขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องปฏิรูปเทคโนโลยีนี้เสียทั้งหมดตัวอย่าง เช่น ระบบถ่ายโอนไฟล์เพลง ส่วนบุคคลระหว่างอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ ของระบบ3Gนั้น สักวันหนึ่งก็อาจจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบ 4G ด้วย ” Brodsky ยังให้ความเห็นต่อด้วยว่า “ ตอนนี้ระบบ 3G มีความเร็วสูงขึ้นกว่าที่มีการคาดหมายกันไว้ที่ระดับ 2 mbps (เมกะบิท ต่อ วินาทีแล้ว ปัจจุบัน มันมีความเร็วถึง 5 ถึง 7 mbps ด้วยเหตุนั้น ความเร็วระดับ 50 mbps จึงไม่ได้ไกลเกินความเป็นจริงมากนัก "มันยังเร็วเกินไปจริงๆ ที่ใคร ๆ จะมาพูดถึงระบบ4G ในตอนที่ระบบ3Gเอง ยังไม่ได้มีโอกาส ที่จะพิสูจน์คุณภาพของตนเอง ให้เป็นที่ประจักษ์ชัด  อย่างไรก็ตามคุณสมบัติต่างๆของระบบ 4G ก็ดูเหมือนยังห่างไกลจากความเป็นจริงในตลาดเทคโนโลยี ในโลกยุคปัจจุบัน จนดูเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าจะต้องมีความสำเร็จในการพัฒนาระบบ 4G นั้นสามารถช่วยให้มีการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติที่สมบูรณ์แบบและช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นโดยอาจจะไปปรากฎที่นั่นที่นี่ได้ตามต้องการ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่ายระบบ 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้  และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง  จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำ ลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถ ชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD ตามการเปิดเผยของซัมซุงฯ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จทางซัมซุงฯได้เพิ่มบุคลากรในแผนกวิจัยและพัฒนา ( R & D ) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 4G แล้วคาดหวังถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อใช้ บริการ M Commerce บนระบบ 4G จะเป็นที่


telephone develop

ยอมรับและแพร่หลาย ทำให้เกิดแนวคิดมากมายในการทำ M Commerce เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลออกไปในระยะใกล้ โดยมีเป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ตัวอย่างเช่น  เมื่อคุณเดินผ่านร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  อาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ๆที่มีจำหน่ายในร้าน และสามารถที่จะตรวจสอบราคาสินค้า เปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด หรือเมื่อนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยว โทรศัพท์เคลื่อนที่4G ก็จะได้รับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ของบริเวณนั้นบนหน้าจอ อีกทั้งข้อความโฆษณาของโรงแรมหรือที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เป็นต้นขณะนี้ ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดย ยกคุณสมบัติเด่นด้านการรับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ “ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขึ้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก จะเห็นได้ว่าตอนนี้บรรดาผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนักพัฒนาเริ่มตื่นตัวกับ เทคโนโลยีใหม่กันแล้ว และดูเหมือนการแข่งขันที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่าระบบ3G มาก จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดดการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ก็เป็นไปได้   ระบบ 4G นี้การพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย   โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือ บริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่นคือในธุรกิจ Mobile Commerceนั่นเองซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำ มาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆรวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดู ระหว่างเดินทาง นั่นคือ ธุรกิจSoftware house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก ลองนึกภาพ การที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลง ล่าสุดและดาวน์โหลลงเครื่องเล่นMP3 ได้โดยตรง หรือการที่ นักท่องเที่ยวสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับยุคที่สี่ (Fourth-generation telephony) หรือ 4G เป็นสิ่งที่บรรดานักวิจัยด้านโทรคมนาคม ออกมารับประกันว่า จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราก้าวสู่ยุคแห่งอนาคตอย่างแท้จริงได้โดยที่ภาวะผันผวนของตลาดหุ้นหรือแม้แต่ต้นทุน  การวางเครือข่ายโทรคมนาคมจะแพงลิบลิ่ว หรือเรียกได้ว่า ยากต่อการคืนทุน หรือสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ไม่อาจขัดขวางได้ แน่นอนว่า คงยังไม่มีใครในวงการ สามารถให้รายละเอียดใดๆ ที่แน่ชัดสำหรับคำนิยามของเทคโนโลยีดังกล่าวที่มักได้ยินบ่อยครั้งขึ้นในงานสัมมนาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคใหม่(New Age) ที่จัดขึ้นหลายต่อหลายงานแต่กระนั้น นักวิจัยรวมถึงผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมบางรายถึงกับกล่าวว่า พวกเขาจะใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อปลุกกระแสของการเป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้สายรุ่นใหม่อย่างแท้จริงยิ่งกว่า  เทคโนโลยี3G ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์โปรแกรมต่างๆ ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่อาจคาดหมายได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้ยังไม่มีความชัดเจนที่แน่นอนด้านเทคนิคสำหรับเทคโนโลยี 4G  แต่ก็เป็นหัวข้องานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่มีระยะเวลาศึกษาไปจนถึงปี พ..2553
นายออสเทน มากิทาโล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของเทเลีย โมบาย (Telia Mobile) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแถบสแกนดิเนเวียมากกว่าหนึ่งทศวรรษ ให้ความเห็นว่า  เทคโนโลยี 4G เป็นหนึ่งในระบบที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สายอันหลากหลายได้ทั้งหมด เส้นทางด่วนสายใหม่สำหรับข้อมูล หากกล่าวโดยย่ออาจเรียกได้ว่า เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว ” อย่างไรก็ตามระบบเทดโนโลยี 4G สามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที นักวิจัยอ้างว่า บริการบางอย่าง อาทิ การเชื่อมต่อวิดีโอไร้สายแบบเรียลไทม์ หรือ ณ เวลาจริง จะไม่แพงอย่างที่คิดด้วยเทคโนโลยี ระบบ 4นี้ ขณะที่ ปัจจุบัน เทคโนโลยีระบบ 3G ซึ่งเป็นระบบที่ หลายบริษัทเพิ่งทุ่มเงินเข้าซื้อสิทธิในการให้บริการดังกล่าว ไปเป็นมูลค่านับหลายพันล้านดอลลาร์คงยากที่จะเปิดให้บริการในอัตราถูก และยังไม่อาจยืนยันได้ว่า ระบบจะสามารถทำงานได้โดยปรกติไม่เกิดปัญหาใดๆ ลำดับขั้นการพัฒนาก่อนเป็น ระบบ 4Gอย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่ไม่ค่อยสันทัดด้านโทรคมนาคมมากนัก ลองมาขยายความกัน เล็กน้อยเกี่ยวกับพัฒนาการของเทคโนโลยีว่า มีลำดับขั้นตอนอย่างไรบ้าง โดยเริ่มจากเทคโนโลยี ระบบ2G อันเป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อความเนื้อหาขนาดเล็กๆ ได้ ขณะที่เทคโนโลยีระบบ 1G เป็นโทรศัพท์ไร้สายรุ่นเก่า ที่มีน้ำหนักมาก และเสาอากาศที่ยาวเทอะทะ ซึ่งครั้งหนึ่ง ได้รับความนิยมอย่างมากจากบรรดานักธุรกิจ และผู้รักการเดินทางตามแหล่งท่องเที่ยวทั้งหลายในช่วงต้นทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึง 4จี เรียกได้ว่า เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมรุ่นใหม่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีแวพ (wireless application protocol) ไปจนถึงเทคโนโลยีจีพีอาร์เอส (General Packet Radio Service)สำหรับเทคโนโลยีแวพ เป็นเบราเซอร์อินเทอร์เน็ต อย่างหนึ่งสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนจีพีอาร์เอส หรือเทคโนโลยีคาบเกี่ยว กับระบบ 2.5G  เป็นระบบเครือข่ายด้านโทรคมนาคม ซึ่งช่วยให้ข้อมูลสามารถถ่ายโอนในรูปแบบชุดข้อมูล (packet) ด้วยระดับความเร็ว 50 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าระบบ 2G  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเล็กน้อย นอกจากนี้ บรรดาผู้ให้บริการและผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมในยุโรป เปิดเผยว่า ในไม่ช้าเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของพวกเขาสำหรับท่องอินเทอร์เน็ตชมวิดีโอแบบเรียลไทม์ และดาวน์โหลดสถานีวิทยุได้ แต่ขณะนี้ กระแสล่าสุดของเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมรุ่นใหม่ ยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากนัก หรือแม้แต่การใช้งานที่จะเกิดขึ้น โดยมักประสบกับปัญหา และความล่าช้าในการดำเนินงานมาโดยตลอดระบบ 3G ยังไม่น่าห่วงเรื่องค่าบริการ ขณะเดียวกัน สิ่งที่กลายเป็นความวิตกของนักลงทุนในช่วงเวลานี้ น่าจะอยู่ที่แผนการถอนทุนของบริษัทต่างๆ ที่ต่างทุ่มงบกันไปเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สำหรับค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตให้บริการ ระบบ 3G และการหารายได้จากบริการที่ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชัดเจน คือ บริการไร้สายส่วนใหญ่จะยังคงมีราคาแพงเกินไปสำหรับผู้บริโภคทั่วไปในช่วงสองสามปีข้างหน้า อย่างเช่น บริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ จะมีอัตราค่าบริการหลายพันดอลลาร์อันเป็นผลมาจากต้นทุนที่สูงในการติดตั้งเทคโนโลยี ระบบ 3G อาจเร็วเกินไปที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีระบบ 4G แต่จะยอดเยี่ยมมาก หากเราได้เห็นการทำงานของบริการต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีแวพ หรือทราบว่าจีพีอาร์เอส หรือ ระบบ 3G จะให้อะไรกับเราบ้างเป็นอย่างแรก ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากและถ้าคิดไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้ว่าคงจะมีอัตราการใช้งานมากกว่า 70 เปอร์เซนต์ของประชากรที่จะมีโทรศัพท์แบบพกพาใช้กันซึ่งนี่จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G ต้องมีการเตรียมการสำหรับรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่ละบุคคลคือจะเป็นการสร้างรูปแบบบริการต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า personalized service ทั้งนี้เนื่องจากว่าเมื่อฐานผู้ใช้บริการกว้างขึ้นก็จะทำให้เกิดความหลากหลายของวัย อาชีพ รสนิยม วิถีชีวิต ที่แตกต่างกันดังนั้นผู้ให้บริการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปแบบบริการที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ลองจินตนาการดูว่าถ้าผู้ใช้โทรศัพท์ยุค4G ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุดโดยผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใช้โทรศัพท์มือถือทำการเชื่อมต่อกับระบบไร้สายภายนอกหลายๆระบบได้   ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบพิกัดสถานที่ (GlobalPositioning System, GPS) สำหรับระบุตำแหน่งของผู้ใช้ในการเลือกโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุดและระบบแลนไร้สาย สามารถเชื่อมต่อกับฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุดในการโหลดตัวอย่างภาพยนตร์ และตารางฉายขึ้นมาดู รวมไปถึงระบบโทรศัพท์มือถือแบบซีดีเอ็มเอ (Code-Division Multiple Access, CDMA) สำหรับการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงภาพยนตร์นั้นๆ การใช้งานที่ได้กล่าวไปนั้นแท้จริงแล้วเป็นการใช้บริการต่างๆ จากหลากหลาย ผู้ให้บริการ ซึ่งแอพพลิเคชันแต่ละอย่างก็มีความแตกต่าง ทั้งในส่วนของระดับความ ปลอดภัยของข้อมูล การตั้งค่าของเครื่องลูกข่าย และวิธีการคิดค่าใช้บริการ ซึ่งจริงๆแล้วก็น่าจะเป็นการดีถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้สามารถ


future of telephone network

รวมกันได้ในแอพพลิเคชันของเทคโนโลยีในยุค 4G แต่ก็ต้องรอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์ มือถือที่สามารถสื่อสารได้กับทุกเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น GSM GPRS CDMA UMTS หรือ แลนไร้สาย ตลอดจนต้องมีส่วนเชื่อมต่อที่สามารถใช้งานได้กับสมาร์ทการ์ดหรือการ์ดหน่วยความจำต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คงต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงาน ที่สามารถปรับให้เครื่องลูกข่ายสื่อสารกับทุกๆเทคโนโลยีให้มีการโรมมิ่งระหว่างเครือข่ายผู้ให้บริการต่างๆ เช่น จากแลนไร้สายภายในอาคารสำนักงานออกไปสู่ระบบ GSM เมื่อก้าวออกนอกสำนักงานและผ่านระบบแลนไร้สายอีกครั้งเมื่อนั่งอยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการกำหนดวิธีการส่งต่อ(hand-off) ระหว่างโครงข่ายต่างๆซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้มีการพัฒนามาช่วยในเรื่องนี้ก็คือ Mobile IPv6 (MIPv6) โดยนับได้ว่าเป็นมาตรฐานโพโตคอลสำหรับ IP-Based ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้หลักการมาตรฐานของ IPversion6 (IPv6) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายในไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้าด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมแลการสื่อสารพร้อมทั้งการสนับสนุนอย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐและการเปิดเสรีโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ ก็น่าที่จะคาดการณ์ได้ว่า จะมีการใช้งานอุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออย่างกว้างขวางและจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น
3.  สรุปผล
เทคโนโลยี 4G คงจะยังไม่เข้ามามีบทบาทในตลาดไร้สายในระยะเวลา 4 - 5 ปีข้างหน้ารวมทั้งเมื่อต้นปีนี้(.. 2550) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ ก็ยังคงเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะต้องลงทุนไปอีกอย่างน้อย15 ปี คือ เทคโนโลยี GSM เดิม หรือเทคโนโลยี 3G ใหม่ๆ เช่นCDMA2000 1xEV-DO, WCDMA และHSDPA ซึ่งให้ปริมาณโครงข่าย (network capacity) มากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต่ำกว่เช่นเดียวกับการสื่อสารข้อมูลบรอดแบนด์ (boardband data) อีกด้วยเห็นทีว่าเราคงต้องรอไปจนกว่าITUและบรรดากลุ่มที่จัดทำมาตรฐานแห่งชาติ (เช่น กลุ่ม 3GPP)และสมาคม 3GPP2 จะพัฒนามาตรฐาน 4G ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการแนวโน้มของเทคโนโลยี 4G ตามความเห็นของผู้เขียนว่า ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่า จะเป็นลักษณะการเติบโตแบบ “ ก้าวกระโดด ” จากการพัฒนาเทคโนโลยี และจะส่งผลให้มีการทุ่มเม็ดเงินไปวิจัยพัฒนา และแข่งขันทางการตลาดกันอย่างหนักทั่วโลก

แทรกรูปภาพ

4G










เรียนรู้โครงงาน

โครตชอบมากเลย